สาธารณสุขไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก พลิกวิกฤตสู่โอกาส Medical HUB เพิ่มสิทธิบริการตรวจรักษาโรคร้ายและ UCEP

ภายใต้การนำรัฐบาลของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ตั้งแต่ปี 2563 ประเทศไทยจะเป็นประเทศแรกที่พบผู้ป่วยโควิด-19 นอกประเทศจีน โดยไทยสามารถควบคุมการ แพร่ระบาดของโรคดังกล่าวในการระบาดรอบแรกได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการจัดตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค. เพื่อสื่อสารประชาสัมพันธ์สถานการณ์ และข้อมูลที่เป็นประโยชน์สร้างการรับรู้ที่ถูกต้องให้กับประชาชน ตลอดจนความร่วมมือจากประชาชนที่ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันสุขอนามัยส่วนบุคคล (D-M-H-T-T-A) อย่างเคร่งครัด ทำให้ปีดังกล่าวนานาชาติยกย่องว่าไทยเป็นประเทศที่รับมือกับโควิด-19 ได้ดีมาก โดย Global COVID-19 Index (GCI) ได้จัดให้ประเทศไทยเป็นอันดับ 1 ประเทศที่ฟื้นตัวจากสถานการณ์ของโควิด-19 (Recovery Index) จากประมาณ 180 ประเทศ/ดินแดนทั่วโลก ด้วยคะแนนรวม 82.27 และจัดอยู่ในกลุ่มเรตติ้ง 5 คือ ประเทศที่บรรเทาการระบาดของ ไวรัสได้ก้าวหน้าที่สุดในโลก การควบคุมสถานการณ์และมาตรการทางสาธารณสุขที่รณรงค์ให้ประชาชนฉีดวัคซีนอย่างต่อเนื่อง ทำให้ในปี 2564 Bloomberg จัดไทยเป็นหนึ่งใน 20 ประเทศ รับมือโควิด-19 ดีที่สุดในโลก 
 จากการเตรียมความพร้อมด้านระบบสาธารณสุข ไปจนถึงการวางระบบดูแลสุขภาพประชาชนแบบ    ถ้วนหน้า (Universal Health and Preparedness Review : UHPR) ทางองค์การอนามัยโลกได้ชื่นชมไทยให้เป็นแชมป์ด้านสาธารณสุข นับเป็นหนึ่งในประเทศแรก ๆ ของโลก และเป็นประเทศแรกของอาเซียน ที่เปิดกว้างให้หน่วยงานสากลเข้ามาประเมิน เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ ในการยกระบบสาธารณสุขทั่วโลก

การปรับตัวของระบบสาธารณสุขไทยในช่วงโควิด-19
ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ที่จำนวนตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นจนกระทบต่อสุขภาพของประชาชน รัฐบาลได้ปรับเปลี่ยนการดูแลรักษาผู้ป่วยให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยเริ่มจากการจัดพื้นที่สำหรับรองรับการกักตัวเข้มงวดโดยใช้พื้นที่ของโรงพยาบาล และโรงพยาบาลสนาม 

ยกระดับสิทธิพื้นฐานสุขภาพคนไทย
1. หลักประกันสุขภาพคนไทย “บัตรทองรักษาทุกที่”
2. เจ็บป่วย ฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิรักษาทุกที่ด้วยสิทธิ UCEP

พลิกวิกฤตสู่โอกาส Medical HUB
การเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ หรือ Medical Hub เป็นหนึ่งในเป้าหมาย ของภาครัฐ ที่ต้องการให้เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2558 ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) (พ.ศ.2560-2569) ระบุองค์ประกอบที่จะช่วยขับเคลื่อนการเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) ของไทย คือ 
1. Wellness Hub: ศูนย์กลางบริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพ 
2. Medical Service Hub: ศูนย์กลางบริการทางการแพทย์ 
3. Academic Hub: ศูนย์กลางบริการวิชาการและงานวิจัย 
4. Product Hub: ศูนย์กลางยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ
โดยในช่วงรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาได้ให้ความสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบสาธารณสุขไทยอย่างต่อเนื่อง มุ่งเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติที่ส่งผลให้การแพทย์และการสาธารณสุขของไทย เป็นที่ยอมรับทั้งด้านศักยภาพและความพร้อมในระดับโลก สร้างจุดแข็งดึงดูดประชากรโลกและนักเที่ยวเดินทางมาประเทศทั้งเพื่อการพักผ่อนและการรักษาตัว


image รูปภาพ
image
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar