มาตรการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาแก่นักเรียน

ครม. มีมติเห็นชอบการใช้จ่ายเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เพิ่มเติม พ.ศ.2564 จำนวน 642 ล้านบาท เพื่อใช้ในโครงการให้ความช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19
     กรอบวงเงินที่อนุมัติเพิ่มเติมในครั้งนี้ 642 ล้านบาท ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย 320,000 คน ประกอบด้วย 3 กลุ่ม
       1.กลุ่มเป้าหมายที่ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือ เช่น นักเรียน ในสังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน นักเรียนในสังกัดโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ รวม 15,000 กว่าคน
       2.กลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปวช. อยู่ในช่วงอายุ 16-18 ปี ในสถานศึกษาที่สังกัด กศน. ทั้งหมด 231,000 คน
       3.กลุ่มเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ครอบคลุมถึงสถานรับเลี้ยงเด็กเล็กกลางวันและโรงเรียนอนุบาลที่มีเด็กอยู่ในช่วงวัยเรียนอายุ 2 - 6 ปี ซึ่งหน่วยงานต้นสังกัดต่างๆ ต้องตรวจสอบความซ้ำซ้อนว่ามีการได้รับความช่วยเหลือไปแล้วหรือไม่ ซึ่งเด็กกลุ่มนี้ กระทรวง ศึกษาธิการคาดว่ามีทั้งหมด 74,000 คน  
     ทั้งนี้โครงการให้ความช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองที่มีลูกหลานอยู่ในโรงเรียน ดูแลเด็กนักเรียนรวมทั้งหมด 11,934,000 คน
ขั้นตอนการตรวจสอบ
ตรวจสอบผ่านทางเว็บไซต์ https://student.edudev.in.th/
เมื่อเข้าหน้าเว็บไซต์ดังกล่าวมีขั้นตอนตรวจสอบสิทธิเงินเยียวยานักเรียน ดังนี้
·    กรอกเลขประจำตัวนักเรียน
·    กรอกรหัสให้ตรงตามรูปที่กำหนด
·    จากนั้นกดปุ่มค้นหาเพื่อตรวจสอบข้อมูล
     ด้านสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน โดยคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เปิดช่องทางให้ผู้ปกครอง นักเรียนในโรงเรียนสังกัดเอกชน สามารถตรวจสอบสิทธิ์ ผ่านทาง แอปพลิเคชัน สช. On mobile เพื่อตรวจสอบรายชื่อว่าตกหล่นหรือไม่ โดยโหลดแอปพลิเคชัน สช.On mobile ได้ทั้งทาง App Store และ Play Store
     สำหรับนักเรียนที่ใช้เลขบัตรประชาชน 13 หลัก นักเรียนที่ไม่มีหลักฐานทางทะเบียนใช้รหัส  G-Code ที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด สามารถขอทราบรหัส G-Code ได้ที่โรงเรียนของตัวเอง


Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar