ปลดล็อกกฎกระทรวงอนุญาตให้รายย่อย ผลิตสุรา

ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ กฎกระทรวงการผลิตสุรา พ.ศ. 2565 ตามมติที่ประชุม ครม. ที่ได้อนุมัติหลักการแก้ไขกฎกระทรวงการอนุญาตผลิตสุรา พ.ศ.2560 เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับสุรา รวมทั้งปรับปรุงขั้นตอนวิธีการขออนุญาตสำหรับผู้ผลิตสุราเพื่อการค้า และไม่ใช่เพื่อการค้าให้ชัดเจน ซึ่งจะทำให้การจัดเก็บภาษี การควบคุมคุณภาพ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
สาระสำคัญ 
1.    เปิดโอกาสให้สุราชุมชนขนาดเล็ก จากที่ต้องใช้เครื่องจักรในการผลิตต่ำกว่า 5 แรงม้า และใช้คนงานน้อยกว่า 7 คน ให้สามารถขยายกำลังการผลิตเป็นระดับกลาง ที่ใช้เครื่องจักรที่มีกำลังการผลิตสูงกว่า 5 แรงม้า แต่ไม่เกิน 50 แรงม้า และสามารถใช้คนงานมากกว่า 7 คนได้ แต่ต้องไม่เกิน 50 คน 
ทั้งนี้ ผู้ผลิตสุราชุมชนที่จะขยายกำลังการผลิตจากระดับเล็กเป็นระดับกลาง จะต้องเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตผลิตสุราแช่ หรือสุรากลั่นชุมชนขนาดเล็กมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี และไม่เคยกระทำความผิดตามกฎหมายภาษีสรรพสามิต หรือเคยกระทำความผิดและพ้นโทษมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 1 ปี และต้องใช้เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ตามมาตรฐานที่อธิบดีประกาศกำหนด และปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและกฎหมายเกี่ยวกับการสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง
2.    ยกเลิกการกำหนดกำลังการผลิตขั้นต่ำและทุนจดทะเบียนสำหรับทั้งกรณีผลิตเบียร์เพื่อขาย ณ สถานที่ผลิต (Brewpub) และโรงงานผลิตเบียร์ขนาดใหญ่ 
•    โรงงานผลิตเบียร์ขนาดเล็ก-ยกเลิกทุนจดทะเบียน-ยกเลิกกำลังการผลิต-เป็นโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานใช้ระบบการพิมพ์เครื่องหมายแสดงการเสียภาษี และจัดทำรายงานตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ในขณะที่กฎกระทรวงเดิม กำหนดให้โรงเบียร์ขนาดเล็ก ต้องมีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท ,กำลังการผลิต 1 แสนลิตรถึง 1 ล้านลิตรต่อปี ,เป็นบริษัทตามกฎหมายไทย ,ผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยไม่น้อยกว่า 51%
•    โรงงานผลิตเบียร์ขนาดใหญ่-ยกเลิกทุนจดทะเบียน-ยกเลิกกำลังการผลิต-เป็นโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานใช้ระบบการพิมพ์เครื่องหมายแสดงการเสียภาษี และจัดทำรายงานตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ในขณะที่กฎกระทรวงเดิม โรงเบียร์ขนาดใหญ่ต้องมีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท ,กำลังการผลิตไม่ต่ำกว่า 10 ล้านลิตรต่อปี ,เป็นบริษัทตามกฎหมายไทย ,ผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยไม่น้อยกว่า 51%
 อย่างไรก็ตาม ยังเปิดโอกาสให้แก่บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลขอใบอนุญาตผลิตสุราภายในครัวเรือนโดยไม่เป็นเพื่อการค้าหรือแลกเปลี่ยน ทั้งนี้ ขั้นตอนการขออนุญาต สามารถไปขอที่สรรพสามิตพื้นที่ และนำใบอนุญาตมากรอกให้เป็นไปตามเงื่อนไข คือ 
1. ต้องขออนุญาตจากกรมสรรพสามิต
2. กำลังการผลิตต้องไม่เกิน 200 ลิตรต่อปี 
3. ต้องเป็นคนที่บรรลุนิติภาวะ ไม่น้อยกว่า 20 ปี บริบูรณ์ 
4. เบียร์ สุราแช่อื่นๆ เวลาผลิตแล้วต้องนำให้กรมสรรพสามิตตรวจสอบคุณภาพ เพื่อไม่ให้มีเรื่องสารปนเปื้อนที่เป็นสารต้องห้ามตามหลักสากล
โดยร่างกฎกระทรวงฯดังกล่าว เป็นการผ่อนคลายความเข้มข้นของ พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ซึ่งได้มีการหารือหลายส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการผ่อนคลายหลักเกณฑ์เงื่อนไขเกี่ยวกับการ       ขอใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตผลิตสุรา ให้มีความสอดคล้องกับสภาพการณ์ในเชิงธุรกิจและธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิตสุราในปัจจุบัน ซึ่งจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันธุรกิจมากขึ้น โดยคง ซึ่งหลักการสำคัญในเชิงประโยชน์ของรัฐ ในการบริหารการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสินค้าสุราอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสินค้าสุราที่ผลิตได้คุณภาพมีมาตรฐานและความปลอดภัยต่อการบริโภค ครอบคลุมการดูแลทั้ง 3 ด้าน คือ การดูแลสุขภาพพี่น้องประชาชน  การดูแลสังคม ป้องกันอุบัติเหตุที่มาจากการดื่มสุรา รวมไปถึงการดูแลสิ่งแวดล้อมจากกระบวนการผลิตสุราด้วย 
เงื่อนไขสำคัญ
- กรณีสุราแช่ เช่น น้ำตาลเมา อุ เบียร์ ไวน์ สปาร์กลิงไวน์ และสุราแช่พื้นเมือง ยกเลิกการกำหนดทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท 
- กรณีสุราแช่ ชนิดเบียร์ ยังต้องเป็นบริษัทที่จัดตั้งตามกฎหมายไทย และมีผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 และยกเลิกกำลังผลิตไม่ต่ำกว่า 1 แสนลิตรต่อปี และ 1 ล้านลิตรต่อปี และกำหนดให้เป็นโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน หรือใช้เครื่องจักรผลิตเบียร์ที่มีมาตรฐานตามที่อธิบดีกรมสรรพสามิตประกาศ
- กรณีสุรากลั่น เช่น สุราขาว สามารถเพิ่มขนาดเป็นโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางที่ใช้เครื่องจักรไม่เกิน 50 แรงม้าหรือใช้คนงานน้อยกว่า 50 คนได้
- กรณีสุรากลั่นพิเศษ เช่น วิสกี้ บรั่นดี และยิน ยังคงเงื่อนไขการผลิตขั้นต่ำตามเดิม (ไม่ต่ำกว่า 30,000 ลิตรต่อวัน)


image รูปภาพ
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar